คิดถึง ชุมชน
ยลวิถีใต้

TATชีพจรลงSouthชุมชนtmt
Play Video

ชุมชนท่องเที่ยวมะพร้าวเชิงสร้างสรรค์เกาะสมุย

ชุมชนท่องเที่ยวมะพร้าวเชิงสร้างสรรค์เ้นกลุ่มชมุชนที่ตั้งอยู่ในเกาะสมุย เกาะที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยเดิมทีบนเกาะสมุยเคยเป็นเกาะที่มีการปลูกมะพร้าวที่ใหญ่ที่สุดในไทย ซึ่งแม้เวลาผ่านไปแต่ชาวบ้านชุมชนก็ยังคงรักษาวิถีของชุมชนไว้ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำอาหารและขนมด้วยมะพร้าว และผักท้องถิ่น วัตถุดิบชั้นเยี่ยมให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน หรือการแปรรูปชิ้นส่วนกะลามะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หรือแม้การสกัดน้ำมันมะพร้าว

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก

ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ “ชุมชน 3 วัฒนธรรม” ประกอบไปด้วย พุทธ มุสลิม จีน ที่อยู่รวมกันมาช้านาน เยี่ยมชมวิถีชีวิตประมง Workshop ผ้าบาติก ล่องเรือปลูกป่าเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับป่าโกงกางของพื้นที่ปลายด้ามขวานไทย

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต

ชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต เป็นชุมชนย่านเมืองเก่าที่หล่อหลอมวัฒนธรรมหลากหลายรูปแบบมารวมกันและยังคงมีการอนุรักษ์อาคาร ตึกรามบ้านช่องเป็นสไตล์ชิโนโปรตุกีส ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสิงคโปร์และปีนัง ถ้าใครมาเที่ยวภูเก็ต แล้วไม่แวะที่แห่งนี้ ถือว่ามาไม่ถึงเมืองภูเก็ต

อ่านเพิ่มเติม

บ้านเกาะพิทักษ์

เดิมทีเกาะพิทักษ์ มีชื่อเรียกว่า “เกาะผีทัก” เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2432 มีเรื่องเล่ากันว่า พ่อปู่เดช ได้ล่องเรือผ่านเกาะแห่งนี้ และได้มีคนเรียกให้ขึ้นมาพักที่เกาะ แต่พอปู่เดชขึ้นมาบนเกาะกลับไม่พบใครสักคน พ่อปู่เดชจึงเรียกเกาะนี้ว่า “เกาะผีทัก” ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2464 ได้ประกาศเป็นหมู่บ้าน และได้เปลี่ยนชื่อเกาะจากเกาะผีทัก เป็นเกาะพิทักษ์ นับแต่นั้นมา บนเกาะพิทักษ์มีจำนวนประชากรทั้งหมด 45 ครัวเรือนหรือประมาณ 235 คน อาชีพหลักของชาวเกาะพิทักษ์ คือ การทำประมง นั่นเอง แน่นอนว่าใครได้มาที่นี่ ต้องไม่พลาดกับการ "ตกหมึก" ไปพร้อมกับชาวประมงในช่วงกลางคืน! คุณจะได้สัมผัสและเรียนรู้วิถีชาวประมงอย่างแท้จริง... อีกทั้งยังสามารถดำน้ำดูประการังชมความงามใต้ท้องทะเลได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนบ้านหาดส้มแป้น

หาดส้มแป้นมาจากคำว่า “ห้วยซัมเปียน” ในภาษาจีน แปลว่าลึกเข้าไปในหุบเขา คือลึกเข้าไปเพื่อไปหาแร่ในหุบเขา เป็นชุมชนทำเหมืองเก่า มีวิถีชีวิตการร่อนแร่มากกว่า 100 ปี ปัจจุบันแม้แร่ดีบุกลดลงและราคาถูกก็ได้มีการค้นพบแร่ดินขาวคุณภาพดีอันดับต้นๆ ของเอเชีย มีชื่อเสียงด้านความโปร่งใสของเนื้อดิน ส่งออกขายทั้งในและต่างประเทศ “กลุ่มเซรามิกบ้านหาดส้มแป้น” เป็นพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวได้ปั้นเซรามิกด้วยตัวเอง ชิ้นงานที่เสร็จแล้วจะขาวเนียนจากดินคุณภาพ เมื่อนำไปเคลือบด้วยสีที่สกัดจากธรรมชาติ ได้ผลงานที่สวยงาม ความงามที่สุดอีกอย่างคือพื้นที่ป่าชายเลนที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 5 ของไทย บริเวณศูนย์วิจัยป่าชายเลนระนองจะพบต้นไม้ใหญ่กว่า 5 เมตรให้ความร่มรื่นชุ่มชื่น พร้อมกับพรรณไม้สำคัญหายากอีกมากมาย ให้คุณสูดอากาศบริสุทธิ์ ได้พักผ่อนหย่อนใจได้อย่างเต็มปอด...อย่างแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนตำบลคลองน้อย

ตำบลคลองน้อยแรกเริ่มเดิมมีชื่อว่า ตำบลป่าเหล้า โดยการตั้งชื่อตามเจ้าที่คือ พ่อตาเหล้า แม่ยายเศร้าสร้อย โดยเอาชื่อของตามาตั้งคือ พ่อตาเหล้า มาตั้งเป็นชื่อตำบลป่าเหล้า เพราะสภาพในตอนนั้นเป็นป่ามาก ต่อมาเมื่อบุตรชายของนาย พันเขียน เทพพิพิธ กำนันคนก่อนได้มาเป็นกำนันต่อ และได้เปลี่ยนชื่อตำบลป่าเหล้ามาเป็นตำบลคลองน้อย แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ในส่วนของชาวบ้านตำบลคลองน้อย มีทั้งคนพื้นเพดั้งเดิมและคนที่อพยพถิ่นฐานมาจากที่อื่น เช่น เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร จึงทำให้ภาษาที่พูดกันในตำบลมีทั้งภาษากลางและภาษาท้องถิ่นของภาคใต้ ล่องเรือชมวิถีชีวิตริมน้ำสองฝั่งแบบดั้งเดิมกลางเมืองสุราษฏร์ เรียนรู้วิธีทำเครื่องจักสานจากใบจาก ทดลองทำขนมจากด้วยสูตรของชาวบ้านชาวคลองน้อย ให้อาหารปลาเสือพ้นน้ำ ที่เขตอนุรักษ์ปลาเสือพ้นน้ำของหมู่บ้านคลองน้อย

อ่านเพิ่มเติม

กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนลีเล็ด

ชุมชนลีเล็ด มีชื่อเรียกมาจากเรื่องเล่าที่ว่า ในสมัยที่มีหัวเมืองไชยาเป็นศูนย์กลางการปกครอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ (ร.5) ทรงเสด็จไปบ้านดอน (ทางเรือ) แล้วเกิดพายุฝน จึงทรงหลบพายุฝนเข้ามาในเส้นทางสายนี้ ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นเส้นทางลัดที่จะไปบ้านดอน คลองสายนี้ จึงได้ชื่อว่า “คลองลัด” แต่เนื่องจากในสมัยนั้นชาวบ้านในระแวกนี้มีอาชีพเป็นเกษตรกรปลูกข้าว จึงมีชาวจีนล่องเรือมาซื้อข้าวอยู่เสมอๆ และได้เรียก "คลองลัด" เพี้ยนไปเป็น "คลองเล็ด" ปัจจุบัน...ชุมชนลีเล็ดได้รับการขนามนามว่าเป็น ป่าอะเมซอนของไทย ที่ยังอุดมสมบูรณ์ที่สุด ด้วยพื้นที่เกือบ8,000ไร่ มีกิจกรรมพื้นบ้านให้นักท่องเที่ยวได้สนุกไปกับการถีบกระดานจับปู ทดลองทำกระปิสินค้าขึ้นชื่อของชุมชน อีกทั้งยังมีการชมจำนวนหิ่งห้อยที่เยอะที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนพรหมโลก

ชุมชนก่อตั้งมาประมาณ 250 ปี ชื่อเดิมเรียกว่า “เหนือปากหราม” มาจากลักษณะที่ตั้งที่อยู่ในเขตที่สูงและปลูกพลูสำหรับกินกับหมาก ในภาษาพื้นบ้านภาคใต้คนที่กินหมากจนปากเป็นสีแดง เรียกว่า “ปากหราม” พื้นที่ในเขตภูเขาเรียกว่า “เหนือ” ชื่อโบราณนี้จึงสะท้อนลักษณะทางวัฒนธรรมและทำเลที่ตั้งของชุมชน ต่อมาเปลี่ยนชื่อชุมชนจาก”เหนือปากหราม” เป็น “พรหมโลก” ตามชื่อของผู้ปกครอง คือ ขุนพรหมโลก ด้วยลักษณะของพื้นที่ชุมชนเป็นหมู่บ้านที่ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติจากเขาหลวงและนำ้ตก จึงทำให้ผู้คนสามารถสนุกกับการเล่นน้ำได้ทั้งปี ปลูกผลไม้ผสมผสานเพื่อการเกษตร นอกจากนั้นยังคงมีการสืบสานวัฒนธรรมอันเก่าแก่ผ่านการแสดงมโนราห์ ที่หาดูได้ยากและมีแค่ทางภาคใต้เท่านั้น...

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนปากพูน

ตำบล ปากพูน ในอดีตเป็นเส้นทางคมนาคม ทางน้ำจากอ่าวไทยเข้ามายังใจกลาง เมืองนครศรีธรรมราช เดิมชื่อ "ปากน้ำปากพูน" กลุ่มคนที่อาศัยอยู่แต่ดั้งเดิมมีทั้งชาวไทยและมุสลิมโดยชาวมุสลิมอพยพเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานในรัชสมัย รัชกาลที่ 2 ส่วนใหญ่เดินทางมาจากหนองจอก คนไทยบางส่วนอพยพมาจากเมืองเพชรบุรี มีชุมชนที่สำคัญในอดีต คือ "ชุมชนโมคลาน" มาเช็คอินเติมความอิ่มให้ชีวิตกัน! "อิ่มบุญ" ด้วยการไหว้พระที่โบสถ์เก่าวัดไพศาลสถิต โบสถ์เก่าแก่อายุกว่าร้อยปีที่ถูกโอบอุ้มไว้ด้วยต้นไทร ไหว้พ่อปากแดง ขอพรเรื่องความรัก และไหว้หลวงปู่ทวด ศาลากลางน้ำวัดท่าแพ "อิ่มวิถีชีวิต" ด้วยการทำเครื่องปั้นดินเผาที่ ผาสุกดินเผา Pottery เรียนรู้และลงมือรังสรรค์สร้างผลงานเครื่องปั้นดินเผาด้วยตัวเอง "อิ่มความสุข" ด้วยการล่องเรือดื่มด่ำกับธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนสองข้างทาง และตื่นตากับอุโมงค์ Amazon และ "อิ่มท้อง" ที่ตลาดโบราณ100ปี

อ่านเพิ่มเติม

Play Video

ชุมชนตำบลเกาะหมาก

โดยเดิมทีตำบลเกาะหมากมีการเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า "ตำบลเกาะโคบ" เพราะตั้งอยู่ในบ้านเกาะโคบ มีศูนย์กลางอยู่ที่อ่าวท่ายาง เพราะว่ามีความเหมาะสมกับการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำ และทะเลสาบตอนใน แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเพราะว่าผู้นำตำบลเกาะโคบเป็นคนเกาะหมากจึงทำให้มีการเรียกขานกันว่า "ตำบลเกาะหมาก" มานับตั้งแต่นั้น และได้มีการขยายหมู่บ้านเพิ่มขึ้นเป็น 11 หมู่บ้านในปี พ.ศ. 2549 ที่นี่...เหมาะแก่การลางาน มาชาร์จพลัง(ใจ) นั่งเรือชมวิถีชีวิตชาวประมงของชาวบ้าน เรียนรู้วิถีการจับปลาและกุ้ง ด้วยวิธีการท้องถิ่นในทะเลสาบสงขลา และความงามของธรรมชาติรอบๆเกาะสี่และเกาะห้า หรือนั่งเรือพายไปดูดงต้นแจกแหล่งรังนกกลางน้ำ แล้วตบท้ายด้วยดูพระอาทิตย์ตก บรรยากาศสุดโรแมนติกที่ "จุดชมวิวเขานางฟ้า"

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนตะโหมด

ในสมัยก่อนชาวบ้านตะโหมดเป็นชาวอิสลามที่ได้อพยพหนีศึกสงครามมาจากไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมี โต๊ะหมูดเป็นผู้นำได้มาเห็นสถานที่แห่งนี้ เป็นที่ราบเหมาะแก่การทำกิน เช่น เพาะปลูก ทำไร่ทำนา เพราะอยู่ใกล้เทือกเขา มีแม่น้ำหลายสายจากเทือกเขาต่างๆ จึงได้ตั้งรกรากสร้างบ้านเรือนเป็นครั้งแรก และเรียกชื่อบ้านแห่งนี้ว่าบ้านโต๊ะหมูด ในสมัยนั้นคนมุสลิมไม่ค่อยพูดชัดเจนทางภาษาไทย คนไทยจึงได้เรียกบ้านโต๊ะหมูด เป็นบ้านตะโหมด คำว่า โต๊ะหมูด จึงเพี้ยนมาเป็นบ้านตะโหมดจนถึงปัจจุบันนี้ "ชุนชนตะโหมด" ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ใครๆที่มา ณ หมู่บ้านแห่งนี้ไม่ควรพลาด คือ แวะสักการะพ่อท่านช่วย พายเรือคายัคชมวิถีชีวิตของชาวบ้านสองริมฝั่งของ "คลองโหล๊ะจังกระ" ขี่ม้าชมสวนลุงนึง นั่งพักผ่อนชมพระอาทิตย์ตกที่อ่างเก็บน้ำคลองหัวช้าง และลองทำโรตีกรอบสินค้า OTOP 5 ดาวของชุมชนด้วยตัวเองทุกขั้นตอนไปกับคนท้องถิ่น

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนบ้านน้ำราบ

“ชุมชนบ้านนํ้าราบ” หรือชื่อเดิม “บ้านนํ้ารอบ” เนื่องจากบริเวณที่อยู่อาศัยล้อมรอบไปด้วยนํ้าในทุกทิศทุกทาง ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 1,400 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน แต่เนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้ มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลาย ต่อมาปี 2542 จึงได้เปิดกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนขึ้น ในลักษณะวันเดย์ทริป มีทั้งหมด 4 โปรแกรม ทั้งล่องแพ ปีนเขา เล่นนํ้า ศึกษาดูงานชุมชน จนเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนจากต่างจังหวัดมากมาย ที่นี่เค้ามี จุดUnseen ที่หาดูได้ที่นี่ที่เดียวเท่านั้น! คือ ชมทะเลแหวกหาดปลาดาว ณ ทะเลแหวกที่ไม่เหมือนใครเพราะจะได้เห็นปลาดาวนับรอยตัวเรียงรายอยู่ตลอดแนว อีกทั้งมีให้เดินศึกษาธรรมชาติที่เขาชมป่า เขาที่ยอดอยู่สูง 84 เมตร จากระดับน้ำทะเล ชมวิวของป่าโกงกางและธรรมชาติในระแวกนี้ได้แบบ 360 องศาเลยทีเดียว และสนุกไปกับการทำขนมครก ขนมท้องถิ่นในแบบตำรับของชาวชุมชน

อ่านเพิ่มเติม

Play Video

ชุมชนบ้านเขาหลัก

บ้านเขาหลักตั้งอยู่ในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบหมู่บ้าน แต่เดิมนั้นมีผู้คนอพยพเข้ามาทำไร่ ทำสวน และปลูกกระท่อมอาศัยอยู่เพียงไม่กี่ครัวเรือน มีเรื่องเล่ากันมาว่ามีโจรชื่อนายจันทัน ลักพาภรรยาของพระยาธารมาซ่อนในหมู่บ้านนี้ ทหารองครักษ์ ไล่ตามมาจนทัน เพราะมีภูเขากั้นเอาไว้ และจับโจรได้ พระยาธารจึงสั่งประหารชีวิตโจรชื่อจันทัน ชาวบ้านจึงเรียกเขานี้ว่า เขาหลักจันทร์ ต่อมามีการตั้งเป็นหมู่บ้าน จึงให้ชื่อบ้านว่า “บ้านเขาหลัก” หนึ่งใน50นวัตวิถีชุมชนของประเทศไทย มีกิจกรรมสนุกมากมาย อาทิเช่น พายเรือคายัคล่องแก่งไฮไลท์สำคัญ เรียนรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน ดูวิธีการเลี้ยง ประโยชน์ และที่มาของไก่ดำ ชมและเล่นกับแพะของชุมชนที่โรงเลี้ยงแพะ ชมวิธีการทำกล้วยหินฉาบ สินค้า OTOP ขึ้นชื่อของชุมชน แวะสักการะไหว้พระนอนทรงเครื่องมโนราห์ ชมโบราณสถานและโบราณวัตถุที่วัดภูเขาทอง วัดเดียวในจังหวัดตรังที่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนา

อ่านเพิ่มเติม

Play Video

ชุมชนเมืองเก่าตะกั่วป่า

ตะกั่วป่า” ในอดีตคือเมือง“ตะโกลา” เป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองท่าริมชายฝั่งอันดามัน และชุมชนการค้าที่มีความคึกคักเป็นอย่างยิ่งในยุคการทำเหมืองแร่ มาวันนี้แม้ตะกั่วป่าจะผ่านยุคแห่งความรุ่งเรืองมานานแล้ว แต่ตะกั่วป่ายังคงไว้ด้วยมนต์เสน่ห์ของรอยอดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมสไตล์ชิโนโปรตุกีส วัฒนธรรมการแต่งกาย อาหารการกิน และวิถีชีวิตของชาวชุมชนอันเรียบง่าย... ย้อนรอยอดีต นั่งรถสองแถวชมทัศนียภาพความมีเสน่ห์ของเมืองเก่าที่เคยเจริญรุ่งเรืองในอดีต เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชุมชน และถ่ายภาพความประทับใจกับสถานที่ต่างๆ บ้านทรงจีน จวนเจ้าเมืองตะกั่วป่า วัดประทุมธารา หม้อสตรีม วัดเสนานุชรังสรรค์ สตรีทอาร์ต แล้วรับประทานอาหารกลางวันแบบชาวบาบ๋า เรียนรู้วัฒนธรรมการแต่งกายแบบบาบ๋าในอดีตและแต่งกายถ่ายภาพความประทับใจ ณ ชมรมบาบ๋าฝั่งทะเลอันดามัน รับประทานอาหารว่างแบบบาบ๋า

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนบ้านบางวัน

เมื่อ ปี พ.ศ. 2400 มีตำนานชื่อหมู่บ้าน "บางวัน" เล่าขานกันมาว่า เดินทางมาถึงหมู่บ้านตำหนัง ฝูงโคซึ่งเกิดอาการป่วยและพากันล้มตายลง ตายมดึงและชาวบ้าน จึงช่วยกันแล่หนังโคออก และเมื่อแล่หนังโคเสร็จ ตายมดึงให้คนช่วยกันหาบเดินทางต่อเพื่อนำไปเมืองตะโกลา จนมาถึงหมู่บ้านแห่งนี้ เห็นมีแดดออกดี จึงหยุดพักเพื่อทำการตากหนังโค ปรากฏว่าแดดที่เคยออกดี กลับออกเป็น "บางวัน" ในบางวันกลับมืดครึ้ม หนังโคที่ตากแล้วจึงแห้งช้า ทำให้มี "แมลงวัน" มาตอมหนังโคที่ตากไว้เป็นจำนวนมาก จากการที่มีแดดออกเป็น "บางวัน" และมี "แมลงวัน" มาก หมู่บ้านแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า "บ้านบางวัน" มาจนถึงปัจจุบัน ที่นี่มีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำขนมเต้าส้อสูตรดั้งเดิม ปลูกป่าโกงกาง ล่องเรือชมธรรมชาติบริเวณป่าชายเลน แล้วไปสนุกกับการหาหอยหยำที่ดอนหอยหยำ หรือแห่เรือพระ ชักพระ (ชมได้ช่วงออกพรรษา ปีละครั้งเท่านั้น)

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนบ้านเกาะกลาง

ชุมชนบ้านเกาะกลาง เป็นชุมชนที่อยู่บนเกาะใหญ่กลางแม่น้ำกระบี่ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพชาวประมงน้ำเค็มเป็นหลัก ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนใกล้ตัวเมืองกระบี่ที่ยังคงความสมบูรณ์ของวิถีชีวิตและทิวทัศน์ของแม่น้ำกระบี่ที่สวยงาม ถ้านึกถึง...กระบี่ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงแต่ทะเล น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเมืองกระบี่มีชุมชนที่เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ของวิถีชีวิตประมงที่เรียบง่ายอย่าง "บ้านเกาะกลาง" ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเพียงแค่10นาที อีกทั้งยังเป็นที่ที่ยังคงสืบสานการปลูกข้าวสังข์หยด เป็นข้าวนาปีที่ปลูกกันปีละครั้ง มีคุณค่าทางอาหารสูง รวมถึงกลุ่มเรือหัวโทงจำลอง เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรือหัวโทง พาหนะสำคัญในการออกเรือหาปลาของชาวบ้าน และเรียนรู้วิธี การสักหอย หรือการขุดหอยด้วยวิธีท้องถิ่นกับชาวบ้าน และเรียนรู้ การทำโป๊ะน้ำตื้น ภูมิปัญญาทางประมงของชาวบ้านที่ไว้ใช้สำหรับจับปลานั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนท่องเที่ยวเกาะยอ

"เกาะยอ" มีสภาพพื้นที่เป็นเกาะเล็กๆ ซึ่งตั้งอยู่ในทะเลสาบสงขลา ว่ากันว่าผู้คนเริ่มอพยพมาตั้งถิ่นฐาน ณ เกาะยอ ประมาณสมัยกรุงศรีอยุธยา "ชาวบ้านน้ำน้อย" คือกลุ่มคนที่สันนิษฐานว่าเป็นกลุ่มแรกที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐาน เพราะมองเห็นว่าเกาะยอมีความอุดมสมบูรณ์ จึงเริ่มทำปศุสัวตว์ แล้วต่อมาจึงขยับขยายเป็นการทำประมง ทำไร่ทำนาต่อไป นอกจากนี้ เกาะยอยังเป็นเกาะที่มีนักเดินทางและพ่อค้าจากประเทศจีน ใช้เป็นที่หลบลมฝนในช่วงมรสุม บางคนเห็นถึงความสมบูรณ์ของเกาะ จึงอพยพมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะแบบถาวร ชุมชนเกาะยอจึงกลายเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม สาเหตุที่เรียกว่า "เกาะยอ" เนื่องจากบริเวณเกาะนี้มีก้อนหิน ซึ่งมีลักษณะคล้ายลูกยอเป็นจำนวนมาก อีกทั้งแต่เดิมเกาะยอมีต้นยอเยอะมาก นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อ "เกาะยอ" ที่ถูกเรียกขานมาจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม

Play Video

ชุมชนท่องเที่ยวทุ่งหว้า

ชุมชนทุ่งหว้าเป็นชุมชนที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดสตูลขึ้นอยู่กับการปกครองของเมืองไทรบุรี และเรียกกันในหมู่นักเดินเรือผู้มาทำการค้าขายว่าเมืองสุไหงอุเป ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษามาลายู แยกเป็น 2 คำ คือ คำว่า “สุไหง” แปลว่า “คลอง” ส่วนคำว่า “อุเป” แปลว่า “กาบหมาก” เกิดจากต้นไม้ ชนิดหนึ่ง เรียกเป็นภาษาถิ่นว่า "หลาวชะโอน" ขึ้นอยู่ตลอดแนวริมคลอง คล้ายต้นหมาก โดยเฉพาะกาบใบ เมื่อกาบใบแก่จะร่วง ลอยเพ่นพ่านอยู่ในลำคลอง ชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายจึงเรียกกันว่า"คลองสุไหงอุเป" ซึ่งกลายเป็นชื่อเมืองในที่สุด คือ "สุไหงอุเป" แปลว่าคลองกาบหมาก ที่แห่งนี้...ยังเป็นที่ที่ชนรุ่นหลังสามารถเข้ามาศึกษาถ้ำหินงอกหินย้อยเลสเตโกดอนและพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้าที่รวบรวมเอาฟอสซิลช้างสเตโกดอนอายุกว่าล้านแปดแสนปีที่โด่งดังของชุมชนทุ่งหว้า และสัมผัสวิถีชีวิตของชาวเลที่แท้จริง

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนท่องเที่ยวบ่อเจ็ดลูก

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองมีชายคนหนึ่งเดิมเป็นคนในพื้นที่บ้านตะโละใส่ชื่อว่านายอับดุลรอหมาน ปากบารา ต่อมาในสมัยร.7 นายอับดุลรอหมาน ได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนขึ้นปกครองที่นี่ และได้เรียกว่าตาลากาตูโหย๊ะ ซึ่งเป็นภาษามาลายู ไปขึ้นกับการราชการเพื่อเป็นชื่อเรียกหมู่บ้าน แต่ชื่อเรียกยากจึงเปลี่ยนเป็นชื่อ บ้านบ่อเจ็ดลูก มาจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมที่ไม่ควรพลาด คือ พายเรือคายัคชมความงามของประติมากรรมธรรมชาติที่คล้ายกับปราสาทหิน มีสะพานธรรมชาติยื่นโค้งเข้าไปในทะเล ชาวบ้านเรียกว่าปราสาทหินพันยอด ซึ่งลักษณะคล้ายถ้ำลอดผ่านเข้าไป โดยภายในถ้ำจะมีลักษณะด้านบนทะลุโปร่งมองเห็นท้องฟ้าตัดกับภูเขาที่มียอดคล้ายปราสาทสวยงาม ดำหอยท้ายเภาด้วยวิธีการแบบดั้งเดิม ด้วยการดำน้ำไปงมหอยโดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ดำน้ำดูปะการัง เล่นทะเลกันที่เกาะบุโหรน และทำอาหารสูตรท้องถิ่น เช่น แกงตอแม๊ะปลาหมึกนอติลอยด์ ปลาหมึกน้ำดำ บัวลอยไข่แมงดาทะเล

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนดงต้นหยี

ที่มาของชื่อชุมชนต้นหยี เพราะที่นี่เป็นแหล่งที่มีต้นหยีจำนวนมากที่สุดในพื้นที่ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี และต้นหยีทีนี่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่มีการอนุรักษ์ต้นหยีตั้งแต่บรรพบุรุษ จนมาถึงรุ่นลูกหลานซึ่งได้ร่วมกันสืบทอดอนุรักษ์เอาไว้ โดยการเก็บลูกหยีนั้นที่นี่เขาจะเก็บปีเว้นปี นอกจากนี้ที่นี่ยังมีต้นหยียักษ์ที่ใหญ่และเก่าแก่อายุ 400 กว่าปี ซึ่งเรียกได้ว่าเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ นอกจากนั้นยังมีเมืองโบราณยะรัง อายุมากกว่า 1000 ปี ผังเมืองเป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ในพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่มีการสร้างทับซ้อนกันถึง 3 เมือง ขยายตัวเชื่อมต่อกัน...

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนบ้านทรายขาว

ชุมชนหมู่บ้านทรายขาวเป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ในอดีตพระยาภักดีชุมพล ได้เดินทางมาจากเมืองไทรบุรี (ก่อนรัชกาลที่ 5) ในระหว่างทางพระยาภักดีได้พบกับสถานที่อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำและอาหารจึงตัดสินใจตั้งบ้านเรือน ณ ที่แห่งนี้ ต่อมา มีผู้คนย้ายเข้ามาอยู่เพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ภายหลังจึงมีการตั้งชื่อเป็น “บ้านทรายขาว” จากตำนานเล่าว่า “วันหนึ่งได้มีพายุพัดทรายลงมาจากเขาเต็มไปหมดและทรายที่ถูกพัดมาเป็นสีขาวสวยงามมาก” ดังนั้นจึงได้ตั้งชื่อว่า “บ้านทรายขาว” ต่อมาบ้านทรายขาว ได้มีการยกระดับการท่องเที่ยวขึ้นมา เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่แขกผู้มาเยือนจะได้นั่งรถจิ๊ปโบราณ สมัยรสงครามโลกครั้งที่2 เที่ยวรอบชุมชนสองวัฒนธรรม สองศาสนา สองวิถีชีวิตได้อย่างเพลิดเพลิน และแวะพักผ่อนหย่อนใจ ณ น้ำตกน้ำตกทรายขาว

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนจุฬาภรณ์พัฒนา10

จากการที่พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ได้ยุติการต่อสู้ด้วยอาวุธและสลายกองกำลังมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยตามข้อตกลง การลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ3ฝ่าย หลังจากนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักณอัคราชกุมารีในราชการที่๙ ทรงมีพระราชประสงค์จะทำการพัฒนาโครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาสเพื่อให้เกิดความมั่นคงภายในพื้นที่แนวชายแดนจึงได้โปรดเกล้า โปรดกระหม่อมทรงรับหมู่บ้าน“รัตนกิตติ2” เข้าร่วมโครงการ และทรงพระราชทานชื่อหมู่บ้านใหม่เป็น “หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา10” หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10 ปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ระบบนิเวศผสมผสานกับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ในการมาท่องเที่ยวที่นี่ นอกจากได้พักผ่อนหย่อนใจกับธรรมชาติแล้ว ยังได้ศึกษาประวัติศาสตร์จากผู้มีประสบการณ์ตรงในเหตุการณ์ครั้งนั้น...

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนท่องเที่ยวบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12

เดิมชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา12 นั้นเป็นที่ตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม10 ในปี 2532 ได้มีการลงนามสันติภาพยุติการสู้รบด้วยอาวุธและกำลัง มาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ตั้งชื่อหมู่บ้าน รัตนกิตติ 4 เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ที่ได้รับการจัดสรรที่ทำกินให้แก่ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ต่อมา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เสด็จตรวจเยี่ยมราษฎร เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2536 ทรงมีพระประสงค์ที่จะพัฒนาโครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับหมู่บ้านแห่งนี้ เข้าร่วมโครงการของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และพระราชทานชื่อใหม่ว่า หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 ปัจจุบันบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา12 ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนโอท๊อปนวัตวิถี ที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนท่องเที่ยวภูเขาทอง

"ในอดีตชุมชนภูเขาทองเป็นที่ตั้งของกิ่งอำเภอโต๊ะโมะ และเป็นที่ตั้งของเหมืองแร่ทองคำโต๊ะโมะ โดยมีชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ดำเนินกำรรับสัมปทำน ต่อมาในปี 2474 ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เหมืองทองคำต๊ะโมะจึงถูกปิดกิจการลง ส่วนเจ้าของสัมปทำนเองก็ได้หนีสงครามกลับประเทศฝรั่งเศสไป กิ่งอำเภอโต๊ะโมะก็ถูกยุบตัวลง โดยในเวลาต่อมาพื้นที่ดังกล่าวก็อยู่ในความปกครองของตำบลมาโมง อำเภอแว้ง โดยมีนายเจ๊ะลาเต๊ะ เจ๊ะเงาะ เป็นกำนันคนแรก ซึ่งสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนในสมัยนั้นจะเป็นที่อยู่ของชนเผ่าซาไก และขบวนการกองโจรคอมมิวนิสต์มลายู และขบวนการโจรพูโล" ปัจจุบันชุมชนภูเขาทอง ได้ปิดให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว ที่มีกิจกรรมมากมายอย่าง การร่อนทอง ล่องแก่งต้นน้ำสายบุรี ชมต้นกะพงยักษ์ ลิ้มรสเมนูอาหารท้องถิ่นต้นตำรับและยังมีโฮมสเตย์ที่พักให้กับแขกผู้มาเยือนอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนท่องเที่ยววิถีพุทธคลองแดน

การตั้งถิ่นฐานของชุมชนคลองแดนในอดีต สันนิษฐานว่ามีการต้ังถิ่นฐานบ้านเรือนอย่างหนาแน่นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2406 เป็นต้นมา โดยเริ่มจากการย้ายถิ่นฐานของบรรดาพ่อค้าและประชาชน เพื่อมาประกอบกิจการค้าขายบริเวณคุ้งน้ำ ซึ่งเป็นชุมทางการสัญจรทางน้ำระหว่างพื้นที่ทะเลสาบสงขลากับทะเลหลวง (อ่าวไทย) อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนอื่นๆในปริมณฑลโดยรอบได้อย่างสะดวก ทำให้ชุมชนคลองแดนมีความรุ่งเรืองทางการค้าเป็นอย่างมาก และเป็นที่มาของฉายา “สามคลอง สองเมือง” ตลาดน้ำคลองแดน ได้ชื่อว่าเป็น “ชุมชนวิถีพุทธคลองแดน” และเป็นชุมชน สามคลอง สองเมือง ที่เชื่อมพรมแดนจังหวัดสงขลาและนครศรีธรรมราชเข้าด้วยกัน ชุมชนแห่งนี้ได้สะท้อนวิถีชนบทที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาสัมผัสและชมวิถีชีวิตริมคลองสองฝั่ง รวมถึงการดูการแสดงมโนราห์ที่ดูได้ยากนักในยุคปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม